วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

พัฒนาการยุคก่อนประวัติศาสตร์

การเริ่มต้นศึกษาเรื่องราวที่เป็นอดีตของมนุษย์ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้เมื่อประมาณ 2,000,000 ปีล่วงมาแล้วเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากมนุษย์ในช่วงแรกๆ ไม่มีความเจริญพอที่จะขีดเขียนเรื่องราวของตนเองไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา แต่ถึงกระนั้นนักวิชาการก็ได้พยายามศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ในช่วงแรก โดยการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยงานค้นคว้าจากลายแขนง ได้แก่ วิชาธรณีวิทยา เป็นการศึกษาโดยดูจากหิน ดินในชั้นต่างๆ ของโลก ซึ่งสามารถบอกได้ว่าหลักฐานที่มีการขุดพบนั้นอายุเท่าใด วิชาโบราณคดีเป็นวิชาขุดค้นและศึกษาความเจริญในสมัยต่างๆ ซึ่งความเจริญนี้จะถูกทับถมอยู่ใต้พื้นดิน จากการขุดพบเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างต่างๆ จะช่วยบอกให้ทราบได้ว่า มนุษย์มีการดำรงชีวิตอยู่ในสมัยใดแต่ละสมัยดำรงชีวิตอย่างไร และวิชามานุษยวิทยาเป็นการศึกษาความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของสังคมและวัฒนธรรมมนุษย์ในแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้น ทำให้เราทราบว่าในแต่ละช่วงเวลามนุษย์มีความเป็นอยู่ในลักษณะใด
            การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและของมนุษย์ในอดีตจากข้อมูลในหลายๆ แขนงนี้ทำให้เราสามารถสันนิษฐานได้ว่ามนุษย์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ เริ่มต้นจากสมัยแห่งที่มนุษย์อยู่กันเป็นกลุ่ม มีชีวิตเร่ร่อนหาอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ต่อมาเริ่มมีการเรียนรู้การทำภาชนะถ้วยชาม เป็นการก้าวเข้าสู่สมัยที่เริ่มลงหลักปักฐานอยู่กับที่โดยอาศัยอยู่ในกระท่อมที่ก่อสร้างด้วยดินอย่างหยาบๆ ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเริ่มรู้จักการนุ่งห่มร่างกายด้วยหนังสัตว์ ต่อมาเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการสื่อสารด้วยภาษา ด้วยสัญญาณเสียง เริ่มประดิษฐ์ตัวอักษร เริ่มมีบ้านที่เป็นหลักแหล่งมั่นคงและรวมตัวกันเป็นสังคมเมือง ในที่สุดก็สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นมาได้ ซึ่งพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ที่กล่าวมานี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุคคือ ยุคก่อนการใช้ตัวหนังสือ (Preliterate Age) หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้แล้วหรือสมัยประวัติศาสตร์

อารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์
            สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาในสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักทำการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือยังไม่มีการจดบันทึกเป็น “ภาษาเขียน” ชนิดที่คนปัจจุบันอ่านหรือสามารถถอดความหมายออกมาได้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์นี้ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ช่วงที่เกิดมนุษย์จนถึงช่วงที่คนเริ่มมีการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆหรือในระยะเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์นั่นเอง

กำเนิดและวิวัฒนาการของมนุษย์
            วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่าHomo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ)วานรวิทยาโบราณคดีบรรพชีวินวิทยาพฤติกรรมวิทยาภาษาศาสตร์จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์
            กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่
            งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ85 ล้านปีก่อน โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ 17 ล้านปีก่อน แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ 14 ล้านปีก่อน
            จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus (7 ล้านปีก่อน) หรือ Orrorin (6.1 ล้านปีก่อน) โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง (5.8 ล้านปีก่อน) ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ ถึง 10 ล้านปีก่อน และลิงชิมแปนซีเมื่อ ถึง 8 ล้านปีก่อน โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominine เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุลAustralopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ 4.2 ล้านปีก่อน และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น
            มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 2.3 ล้านปีก่อน โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ  ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ 
            ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ 1.9 ล้านปีก่อน ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ 1.8 ล้านปีก่อน ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น
            ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกว่า Archaic Homo sapiens ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์ Homo sapiens ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณกลุ่ม Archaic Homo sapiens ในยุคหินเก่าช่วงกลาง คือประมาณ 200,000 ปีก่อน ตามทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา มนุษย์ปัจจุบันมีการวิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วได้อพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ  โดยอาจจะมีการผสมพันธุ์กันกับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น
            หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี ค.ศ. 2010 บอกเป็นนัยว่า มีลำดับดีเอ็นเอหลายส่วนที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์โบราณ Homo neanderthalensis (Neanderthal) ในดีเอ็นเอของมนุษย์ปัจจุบันทุกเผ่าพันธุ์ที่ไม่ใช่คนแอฟริกา และว่า Neanderthal และมนุษย์โบราณสกุลอื่น ๆ เช่นที่รู้จักกันว่า Denisova hominin (Denisovan) รวม ๆ กันแล้ว อาจจะให้จีโนมเป็นส่วน 1-10% ของจีโนมมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งบอกเป็นนัยถึง การผสมพันธุ์กัน ระหว่างมนุษย์โบราณเหล่านี้กับมนุษย์ปัจจุบัน อย่างไรก็ดี การผสมพันธุ์มีระดับค่อนข้างที่จะต่ำ และยังมีความเป็นไปได้ว่า กรรมพันธุ์ของ Neanderthal หรือของ Archaic Homo sapiens อื่น ๆ ที่พบในมนุษย์ปัจจุบันอาจจะอธิบายได้โดยลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่สืบมาจากบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 500,000-800,000 มาแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเพราะผสมพันธุ์กันเร็ว ๆ นี้
            ส่วนการเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบัน พร้อมกับพัฒนาการของวัฒนธรรมสัญลักษณ์ (symbolic culture)  ภาษา และเทคโนโลยีหินแบบเฉพาะงานเริ่มขึ้นที่ประมาณ 50,000 ปีก่อนตามข้อมูลทางมานุษยวิทยา แม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนที่เสนอว่า ความจริงเป็นการพัฒนาทางพฤติกรรมอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานยิ่งกว่านั้นที่อาจนานถึง 300,000 ปี และเริ่มมีหลักฐานแล้วว่าพฤติกรรมปัจจุบันนั้น ความจริงมีปรากฏแล้วก่อนหน้านั้น
            ในปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการของมนุษย์ปัจจุบันก็ยังเป็นไปอยู่ แต่ที่ปรากฏเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนจะจำกัดอยู่ในเรื่องภูมิต้านทานต่อโรคติดต่อโดยมาก แต่เพราะไร้เหตุกดดันทางการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือเพราะเหตุอื่น ๆ วิวัฒนาการของมนุษย์เร็ว ๆ นี้ โดยมากก็จะเป็นการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) นอกจากนั้นแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่า ทั้งมนุษย์ทั้งวงศ์ลิงใหญ่แอฟริกัน (รวมกอริลลาและชิมแปนซี) ปรากฏการวิวัฒนาการที่ช้าลงจากลิงสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะแต่ละชั่วอายุมีความยาวนานยิ่งขึ้น คำว่า "มนุษย์" ในบริบทของวิวัฒนาการมนุษย์ จะหมายถึงมนุษย์สกุล Homo เท่านั้น

อารยธรรมตะวันตกของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
            มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาศัยการแบ่งตามแนวโบราณคดีได้ดังนี้
            ยุคหินเก่า มีอายุราว 2,000,000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มีมนุษย์อยู่ด้วยการล่าสัตว์และเก็บผักผลไม้เป็นอาหาร เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธทำจากหินแบบหยาบๆ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีคุณภาพดีขึ้นตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม จากการค้นพบตะเกียงรูปร่างเหมือนจากทำด้วยหินเพื่อให้แสงสว่างภายในถ้ำ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการรู้จักใช้ไฟและเครื่องใช้ที่แสงดให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สุดของมนุษย์ยุคหินเก่าตอนปลาย คือ การประดิษฐ์เข็มที่ทำจากกระดูกสัตว์มีที่ร้อยเพื่อใช้เย็บเครื่องนุ่งห่มโดยเป็นฝีมือของมนุษย์โครมันยอง
            การค้นพบกองขี้เถ้ากองใหญ่เป็นการแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สมัยนี้รู้จักการใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัยและใช้ในการหุงต้มอาหาร นอกจากนี้ การค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ในลักษณะต่างๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในสมัยนี้ ได้มีการประกอบพิธีกรรมฝังศพตามความคิดความเชื่อเรื่อง “การฟื้นคืนชีพ” ของมนุษย์สมัยนั้น
            สภาพที่อยู่อาศัยในระยะแรกๆ จะอาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงที่ทำด้วยกิ่งไม้ ใบไม้และสร้างที่พักแบบหยาบๆ ต่อมารู้จักสร้างที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น โดยใช้หินทำผนังบ้าน ซึ่งปรากฏครั้งแรกในแอฟริกาและบางพวกรู้จักสร้างบ้านด้วยดินเหนียว
            ศิลปะที่มีชื่อเสียงในยุคหินเก่าที่เรียกว่า ศิลปะแบบแมกกาเลเนี่ยน คือ ภาพตามผนังถ้ำและภาพแกะสลักบนกระดูก ภาพเล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาพที่เกี่ยวกับความเชื่อ พิธีกรรม การบวงสรวงต่างๆ และภาพเกี่ยวกับสัตว์ เช่น หมี กวาง เป็นต้น โดยผลงานที่มีชื่อเสียง คือ ภาพเขียนบนฝาผนังถ้ำที่ลาสโคส์ ประเทศฝรั่งเศส และภาพวาดบนฝาผนังถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน
            ยุคหินกลาง เมื่อยุคน้ำแข็งผ่านพ้นไป อากาศเปลี่ยนเป็นอบอุ่นขึ้น ทำให้มนุษย์เริ่มออกจากถ้ำมาตั้งถิ่นฐานภายนอกตามป่าบ้าง ตามทุ่งหญ้าบ้าง มีการสร้างที่พักอาศัยที่แข็งแรงขึ้น ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธยังคงทำจากหิน หากแต่มีความประณีตมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังรู้จักใช้ไม้เพื่อประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น พบด้ามขวาน พบเรือขุดจากไม้ทั้งต้นในประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังพบพายทำด้วยไม่ในประเทศอังกฤษ เป็นต้น
            มนุษย์ในยุคนี้แม้จะยังไม่มีความก้าวน้าถึงขั้นสามารถควบคุมการผลิตอาหารได้ แต่ก็เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมแบบง่ายๆ รู้จักการเลี้ยงสัตว์ จากการค้นพบเครื่องมือคล้ายแห ทำให้ทราบได้ว่ามนุษย์รู้จักการทำประมงแบบง่ายๆ และยังรู้จักการประดิษฐ์ภาชนะแบบหยาบๆ ขึ้นใช้ ซึ่งยุคนี้มีระยะเวลาไม่ยาวนานนักก็เริ่มเข้าสู่ยุคหินใหม่
            ยุคหินใหม่ มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตขนาดใหญ่ จากการแสวงหาอาหารตามธรรมชาติมาเป็นการผลิตอาหารได้เอง โดยการทำเกษตรกรรม คือ มีการปลูกข้าว ปลูกผักผลไม้เพื่อไว้บริโภค มนุษย์เริ่มรู้จักเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงสุนัขในสมัยเมโซลิอิค ไว้เพื่อระวังภัยและช่วงการล่าสัตว์ เลี้ยงหมู ม้า แพะ แกะและวัว เพื่อเป็นอาหารและสัตว์ใช้งาน การที่มนุษย์เริ่มมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์นี้ทำให้มนุษย์สามารถควบคุมแหล่งอาหารได้ มนุษย์จึงไม่ต้องเร่ร่อนและเป็นเหตุให้จำนวนประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ต่อมาเกิดการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านมีหัวหน้าปกครอง มีการสร้างสถาบันต่างๆ ขึ้นในสังคม
            สภาพที่อยู่อาศัยมีลักษณะถาวรขึ้นแต่ถึงกระนั้นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยยังคงเป็นแบบง่ายๆ ที่ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ เช่น ดินเหนียวและไม่ในการก่อสร้าง
            เครื่องมือเครื่องใช้ แม้ว่ายังคงเป็นหินอยู่ แต่มีการขัดหินให้มีความแหลมคมและมีความประณีตมากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย นอกจากนี้ มีการค้นพบเครื่องประดับตกแต่ง เครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้นและสวยงามขึ้นและจากการพบอนุสาวรีย์หินขนาดใหญ่ในฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ และที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษ ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรมบวงสรวงดวงอาทิตย์และเพื่อผลทางการเพาะปลูก นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์
            ยุคโลหะ เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการนำทองแดงมาใช้ประโยชน์โดยนำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน การใช้ทองแดงมีอย่างแพร่หลายบริเวณยุโรปตะวันตกเฉียงใต้และขยายไปทั่วยุโรป โดยพบว่าขวานด้ามยาวและขวานถือทำด้วยทองแดงหลายแห่ง เช่น บริเวณไอร์แลนด์ เดนมาร์กและเยอรมันภาคกลางไปจนกระทั่งถึงสแกนดิเนเวีย
            ต่อมาในยุโรปตอนกลางได้เริ่มมีการนำแร่ทองแดงผสมกับดีบุก กลายเป็นโลหะชนิดใหม่ซึ่งเรียกว่า “สำริด” โดยนำสำริดมาผลิตกฤช สร้อยคอ เข็มเย็บผ้า และทำเครื่องประดับต่างๆ การพัฒนาสำริดในช่วงนี้เกิดขึ้นในหลายบริเวณของยุโรปจนถึงสเปน
            กรีกเป็นผู้นำในการถลุงเหล็กมาใช้งานได้เป็นชาติแรก โดยเริ่มมีการใช้เล็กมาหลอมเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ มีวิวัฒนาการของการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ตลอดจนมีการพัฒนาประสิทธิภาพ ในด้านวิถีชีวิตของคนโดยได้เปลี่ยนจากสภาพความเป็นอยู่แบบชุมชนเกษตรกรรมมาเป็นชุมชนเมือง ซึ่งเมืองดังกล่าวต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางของการเกษตรกรรม การปกครองและสังคม ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นแบบเครือญาติ มีความรักใคร่กลมเกลียวและผูกพันอย่างใกล้ชิด

อารยธรรมตะวันออกของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
            มีพัฒนาการอยู่ลายแห่งและในแต่ละแห่งก็มีระยะเวลาของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
            ยุคหินเก่า เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500,000-10,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้มีชีวิตเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหารยังไม่รู้จักการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน บางกลุ่มก็อาศัยอยู่ตามถ้ำและใต้หน้าผา มนุษย์ดำรงชีวิตโดยการล่าสัตว์ เก็บพืชผักผลไม้จากป่า มีชีวิตเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหาร ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธทำจากหินขัดแบบหยาบๆ จากการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูกของมนุษย์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง เมื่อ ค.ศ.1927 สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ราว 400,000 ปีก่อนคริสตกาล เรียกมนุษย์ที่ค้นพบนี้ว่า มนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวจีนปัจจุบัน เครื่องมือเครื่องใช้ที่ขุดพบมีลักษณะที่ทำมาจากหินหยาบๆ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์และหาอาหาร นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยว่าได้มีการเริ่มใช้ไฟด้วย
            นอกจากนี้ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้จำพวกเครื่องมือหินกรวดกะเทาะในประเทศไทย พม่าและลาว และจากการขุดพบชิ้นส่วนของมนุษย์ เช่น มนุษย์ชวาที่ตำบลตรินิลและมนุษย์โซโลที่เมืองงันดอง บริเวณลุ่มแม่น้ำโซโลในเกาะชวาตอนกลาง และมนุษย์วาจกพบที่เมืองวาจกในเกาะชวาตอนใต้ เป็นต้น ซึ่งนักมานุษยวิทยาได้จัดมนุษย์ที่พบว่าเป็นมนุษย์วานร เช่นเดียวกับที่พบในประเทศจีน
            ยุคหินกลาง เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10,000-4,000 ปีมาล่วงมาแล้ว เครื่องเมือเครื่องใช้ยังคงเป็นหิน แต่มีความคมแข็งแรงและมีขนาดเล็กกว่าสมัยหินเก่า อาวุธที่ขุดพบได้แก่ธนูที่ปลายธนูทำด้วยหินที่เหลาให้แหลม มนุษย์ยุคนี้จะอาศัยอยู่ในถ้ำและดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์เก็บของป่าเป็นอาหาร ในบางภูมิภาคของอินเดียเริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์โดยพืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ถั่ว แตงกวา มะเขือ ผักกาด ฯลฯ
            ส่วนร่องรอยความเจริญของวัฒนธรรมมนุษย์ในสมัยหินกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น นักโบราณคดีได้แยกออกเป็นวัฒนธรรมแบบต่างๆ ได้ดังนี้
                        วัฒนธรรมฮัวบินห์ พบร่องรอยที่ตำบลฮัวบินห์ใกล้เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยพบเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่ทำด้วยหินกรวดแม่น้ำนำมากะเทาะให้เกิดรอยแหลมคม และมีการขัดให้เรียบเพื่อการใช้งานที่ดีขึ้น เป็นการแสดงความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกขั้นหนึ่ง ร่องรอยวัฒนธรรมฮัวบินห์ยังพบได้ที่บริเวณจังวัดกาญจนบุรีและบริเวณภาคเหนือบางแห่งในประเทศไทย และบริเวณใกล้เมืองหลวงพระบางในประเทศลาว เป็นต้น
                        วัฒนธรรมบัคซอน เป็นวัฒนธรรมที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมฮัวบินห์ พบในประเทศเวียดนามตอนเหนือ เครื่องมือเครื่องใช้ดป็นขวานสั้น ใช้ก้อนหินผ่าซีกออกแล้วขัดเฉพาะตรงที่คมเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างทำด้วยกระดูกและเปลือกหอย นอกจากนี้ ยังพบเครื่องปั้นดินเผาแบบหยาบๆ พบเมล็ดพืชบางชนิด ทำให้สันนิษฐานได้ว่าได้เริ่มมีการเพาะปลูกพืชกันบ้างแล้ว ร่องรอยของวัฒนธรรมบัคซอน ยังพบอีกในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดกาญจนบุรีของประเทศไทย เป็นต้น
            ยุคหินใหม่ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000-2,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์สมัยนี้รู้จักการเพาะปลูก เช่น พบว่ามีการเพาะปลูกข้าวเจ้าและมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ทำให้มนุษย์เริ่มปักหลักอยู่กับที่ เริ่มมีการสร้างบ้านที่ทำด้วยไม้และไม้ไผ่ มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ทำเป็นลวดลายแบบง่ายๆ บางชิ้นมีการใช้สีเขียนลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีแดง ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ยังคงใช้หิน แต่มีการขัดให้เรียบขึ้นเรียกว่า เครื่องมือหินขัด เช่น ขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและขวานพาดบ่าปลายมล ในประเทศไทยชาวบ้านเรียกขวานชนิดนี้ว่า ขวานรามสูรหรือขวานฟ้า โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องรางของขลัง เป็นเครื่องนำโชคลาภ
            นอกจากนี้ มนุษย์ยุคนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เชื่อในวิญญาณ ภูตผีปีศาจ เชื่อในพลังที่มีอยู่เหนือธรรมชาติ และพลังที่มีอยู่ในไร่นา เช่น เจ้าแม่โพสพ ทำให้เริ่มมีการเซ่นสรวงบูชา ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของพิธีกรรมและธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของสังคมในแต่ละหมู่บ้าน
            พบการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในสมัยหินใหม่ในหลายแห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองของประเทศจีน โดยในประเทศจีนมีแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ตอนปลายที่สำคัญคือ วัฒนธรรมหยังเชา (Yang Shaow) พบที่เมืองหยังเชา มณฑลเฮอหนาน ทางภาคตะวันตกเลยมาทางตะวันออกถึงแมนจูเรียใต้ และวัฒนธรรมหลุงชาน (Lung-Shan) พบที่เมืองหลุงชาน มณฑลซานตุง โดยที่เมืองหยังเชาขุดพบเครื่องปั้นดินเผาหลายชนิดระบายสีดำ ขาว น้ำตาล แดงและเทา มีการแกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ม้าลงบนเครื่องปั้นดินเผา พบเครื่องทอผ้าและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำด้วยหิน สันนิษฐานว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเพาะปลูกและพบว่ามนุษย์พวกนี้เริ่มมีการเลี้ยงสัตว์ด้วย ส่วนที่เหมืองหลุงชานพบเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพดีขึ้น มีความประณีตขึ้น โดยจะปั้นด้วยแป้นหมุน สีดำ ผิวเรียบ เป็นต้น แต่ไม่พบว่ามีการวาดภาพหรือระบายสีตกแต่ง นอกจากนี้ ยังพบภาชนะ 3 ขา พบกระดูกเสี่ยงทายและพบซากกระดูกสัตว์จำนวนมากที่ใช้ในการบูชายันต์ บริเวณหลุมฝังศพยังพบวัตถุที่ทำด้วยหยก จากหลักฐานต่างๆ ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามนุษย์ในสมัยนั้นรู้จักสร้างบ้านเรือนด้วยดินเหนียว อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านตามชนบทบ้าง ตามเชิงเขาบ้างและใกล้แม่น้ำบ้าง มนุษย์สมัยนี้ในช่วงหลังทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น วัฒนธรรมหลุงชาน นับเป็นวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากและเป็นพื้นฐานของอารยธรรมจีนในสมัยต่อมา
            ยุคโลหะ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000-500 ปีล่วงมาแล้ว สมัยนี้ได้เปลี่ยนวัสดุที่ทำเครื่องมือเครื่องใช้จากหินมาเป็นโลหะ แรกๆ ใช้ทองแดง สำริดและเหล็กตามลำดับ แสดงว่ามนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้าขึ้นกว่ายุคก่อน โดยรู้จักการนำแร่ธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาหลอมเพื่อใช้ประโยชน์ เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ที่ทำด้วยโละ เช่น ขวาน ใบหอก หัวลูกศร เข็มและเครื่องประดับต่างๆ และยังพบว่าในสมัยนี้มีการประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผาทั้งแบบเรียบและแบบมีลวดลายที่นิยม คือ ลายเชือกทาบ ลายจักรสานและแบบที่เขียนลายขึ้นเอง ยุคโลหะพบในหลายท้องที่ เช่น ค้นพบเครื่องมือโลหะหลายชนิดที่ทำด้วยทองแดงในบริเวณตอนเหนือของประเทศจีน ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งวัฒนธรรมยุคนี้ออกได้เป็น 2 วัฒนธรรม คือ
                        วัฒนธรรมดองซาน ดองซานเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำซอง ในจังหวัดถั่นหัว ประเทศเวียดนาม สามารถขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ของวัฒนธรรมดองซาน ได้แก่ กลองมโหระทึกทำด้วยสำริด อาวุธที่ทำจากสำริด เช่น ขวาน หอก หัวลูกศร ด้ามมีด มีดสั้น ภาชนะที่ทำจากสำริด เช่น แจกัน พาน หม้อ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับที่ทำด้วยสำริดและหิน
                        วัฒนธรรมหินใหญ่ เป็นวัฒนธรรมที่เด่นชัดมากของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวัฒนธรรมที่นำหินมาก่อสร้าง เช่น โต๊ะหิน โลงหินมีขา หลุมศพก่อด้วยแท่งหินและแผ่นหิน รูปหินจำหลักเป็นรูปนูนต่ำ เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสำริดหรือเหล็ก ที่น่าสนใจคือ โกศหินหรือไหหิน ที่แขวงเชียงขวางและหินตั้ง แขวงหัวพัน ประเทศลาว สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการทำพิธีฝังศพ เพราะพบเศษกระดูกคนที่เผาแล้วและเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ที่ใช้ในพิธีศพ เช่น ขวานหินขัด ลูกปัดแกล้ว เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับทำด้วยสำริดและเครื่องมือเหล็ก ทั้งหมดบรรจุอยู่ในไหหิน บนผาไหหินมีการแกะสลักลวดลายเป็นรูปคนหรือรูปสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีหลุมดินและมีฝาปิดทำด้วยหินรูปวงกลม ซึ่งสันนิษฐานว่าไหหินก็คือหลุมดินที่มนุษย์ทำขึ้นให้เป็นสัญลักษณ์ของโลกบาดาล คือ อีกโลกนึ่งของคนตาย
            รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนรับพุทธศาสนา มนุษย์ได้ใช้หินปักกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์และใช้เป็นเขตกำหนดที่ฝังศพที่ตามคติความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของกลุ่มชนต่างๆ ต่อมาเมื่อได้มีการรับพุทธศาสนาเข้ามาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนหินตั้งให้เป็นเสมาหินเพื่อกำหนดขอบเขตพระอุโบสถหรือสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา แสดงให้เห็นว่าเสมาหินที่พัฒนามาจากหินตั้งเป็นวัฒนธรรมโบราณที่มีความเก่าแก่และมีลักษณะพิเศษเป็นของตนเองโดยเฉพาะ”
            อารยธรรมในยุคโลหะไม่ว่าจะเป็นของโลกตะวันตกหรือโลกตะวันออก มักจะเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงมีนักวิชาการบางท่านมองว่า สมัยโลหะเป็นยุคคาบเกี่ยวระหว่างอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์และอารยธรรมสมัยประวัติศาสตร์

อารยธรรมสมัยประวัติศาสตร์
            สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มนุษย์รู้จักการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้นี้อาจจะมีลักษณะแตกต่างจากตัวอักษรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็ได้ แต่ตัวอักษรนี้จะต้องสามารถถอดความหมายออกมาได้ การเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่างๆ ของโลกเริ่มมีวิวัฒนาการแตกต่างกัน ดังนั้นการเริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้จึงเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ทำให้การสิ้นสุดของสมัยประวัติศาสตร์และการเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่างๆ ของโลก จึงแตกต่างกันตามไปด้วย เช่น อียิปต์สามารถคิดประดิษฐ์อักษรภาพขึ้น กรีกสามารถประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นใช้ เป็นต้น
            หลังยุคหินใหม่ มนุษย์ได้ค้นพบการใช้โลหะเพื่อผลิตเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน โลหะชนิดแรกที่มนุษย์นำมาผลิตคือ ทองแดง โดยจะใช้ทำเครื่องใช้ขนาดเล็ก เช่น เข็ม เครื่องประดับประเภทลูกปัด ต่อมาเริ่มมีการนำทองแดงมาผสมกับดีบุก กลายเป็นสำริดที่เริ่มนอยมใช้กันอย่างกว้างขวาง
            ในช่วงเวลาที่มีการใช้โละโดยเฉพาะทองแดงและสำริด ในบางท้องที่สันนิษฐานว่าได้มีการค้นพบตัวอักษรขึ้นใช้แล้ว และได้มีการขีดเขียนเรื่องราวบางอย่างไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การค้นพบวิธีการเขียนตัวอักษรยังช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการปกครอง โดยจะช่วยให้กิจกรรมทางธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยในการจัดระเบียบ การสั่งงานและการควบคุมคนอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้นยังช่วยให้มีการจดบันทึกเรื่องราวไว้เป็นมรดกตกทอด และเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างเสริมอารยธรรมของคนรุ่นต่อมา
            มนุษย์เมื่อมีการค้นพบตัวอักษรและมีการจดบันทึกเรื่องราวลงไว้เป็นหลักฐาน ทำให้การศึกษาเรื่องของมนุษย์ในแต่ละสมัยกระจ่างชัดและมีความแน่นอนมากขึ้น ไม่ต้องอาศัยการสันนิษฐานจากวัตถุหลายอย่างเหมือนกับการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยที่ยังไม่รู้จักการเขียนหนังสือ ซึ่งเป็นการนำมนุษย์เข้าสู่สมัยที่เรียกว่า สมัยประวัติศาสตร์
            สมัยประวัติศาสตร์ของโลกเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมากทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง หมู่บ้านกสิกรรมได้ขยายตัวกลายสภาพมาเป็นเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหาร เป็นศูนย์กลางการปกครองและสังคม คนที่อาศัยอยู่ในเมืองไม่ได้ประกอบอาชีพกสิกรรมเพียงอย่างเดียวแต่มีการประกอบอาชีพทั้งเป็นช่างหัตถกรรมและอื่นๆ
            สมัยประวัติศาสตร์ยังเป็นสมัยที่สามารถแบ่งยอยออกไปได้อีกหลายสมัยด้วยกัน ได้แก่
            อารยธรรมสมัยโบราณ เริ่มต้นเมื่อมนุษย์มีการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน มีการประดิษฐ์ตัวอักษร ซึ่งทำให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นมา โดยอารยธรรมโบราณต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้มักเกิดขึ้นตามลุ่มแม่น้ำสายต่างๆ ของโลกหลายแห่ง เช่น แม่น้ำไนล์ แม่น้ำไทกิรสยูเฟรติส แม่น้ำสินธุและแม่น้ำฮวงโห เป็นต้น
            อารยธรรมสมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5-15 เป็นช่วงที่อาณาจักรโรมันเกิดขึ้นในยุคโบราณถูกพวกอนารยชนเผ่าเยอรมันบุกทำลาย ทวีปยุโรปเริ่มใช้ระบบการปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือฟิวดัล และยังเป็นช่วงเวลาที่ศาสนจักรมีอำนาจอย่างมากในยุโรปอีกด้วย
            อารยธรรมสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในสมัยเรอเนสซองซ์ มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นยุคที่ยุโรปมีความเจริญทางด้านศิลปกรรมมาก ซึ่งเป็นต้นแบบของศิลปกรรมในสมัยต่อมาด้วย ในสมัยนี้ทวีปยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น มีการปฏิรูปศาสนา การปฏิวัติเกษตรกรรม การปฏิวัติวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่นำยุโรปเข้าสู่ลัทธิจักรวรรดินิยมและก่อให้เกิดสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งในเวลาต่อมา

            อารยธรรมสมัยปัจจุบัน เรื่มตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันสมัยนี้เป็นสมัยที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอที (IT : Information Technology) หรือยุคโลกาภิวัตน์

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2565 เวลา 11:02

    5 Things You Should Do Before Getting Rich - The Real
    If you're looking for the leovegas most complete starvegad rundown of the 바카라 games in this new casino, this will be a list of all you need to know before you

    ตอบลบ
  2. What is Bet365 Casino? | JTGHub
    Sports betting 문경 출장마사지 is now available in regulated markets in the USA. The Bet365 casino is open 계룡 출장안마 daily 24 hours a 순천 출장샵 day, 365 days 여수 출장마사지 a year. Bet365 also 포천 출장샵 offers

    ตอบลบ